หลังจากดูละครเรื่องไซอิ๋วมานาน
วันนี้เพิ่งจะกระจ่าง ว่านัยที่ซ่อนอยู่ของไซอิ๋ว คืออะไร
บอกก่อนว่า ผมเคยอ่านเจอบทวิเคราะห์แนวนี้มาก่อนแล้วจาก pantip
แต่ด้วยความที่ว่ามันหลายปีมาแล้ว หาไม่เจอ จนผมลืมไปแล้ว
พยายามนึกเท่าไหร่ ก็นึกไม่ออก จนวันนี้ดูแล้วถึงได้เข้าใจ..
การเดินทางไปเชิญพระไตรปิฎกของพระถังซำจั๋ง ยังชมพูทวีปนั้น
เปรียบเทียบเหมือนการศึกษาธรรมะ เพื่อไปยังจุดสูงสุด
ซึ่งจุดสูงสุดของพุทธ นั่นคือการบรรลุอรหัตผล
ซึ่งในหนัง เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ว่าคือการไปถึงวัดหลุยอินซื่อ
พระถังซำจั๋ง คือตัวแทนของผู้ศึกษาธรรม
ซึ่งการเดินทางไปนั้น โดยนัยคือการเดินทางของจิตใจ
ซึ่งจิตใจนั้นจะบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแต่แรกก็เป็นไปไม่ได้
เพราะทุกคนมีกิเลส นั่นคือ ราคะ โทสะ โมหะ ติดตัวอยู่
ซึ่งละครนั้น ก็เปรียบเทียบกิเลสนั้น เป็นลูกศิษย์ทั้งสามของพระถังซำจั๋ง
ซึ่งจะติดตามไปทุกที่เหมือนเงาติดตามดัว
โป๊ยก่าย คือ - ราคะ (ความหลงไหล ความยึดติด)
หงอคง คือ โทสะ (ความโกรธ ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญใจ)
ซัวเจ๋ง คือ โมหะ (ความโง่ ความไม่รู้ ความหลง)
ซึ่งตรงกับลักษณะนิสัยของตัวละครอย่างน่านับถือคนแต่งเรื่อง
และถึงหงอคงจะมีฤทธิ์เดชมากแค่ไหน แต่ก็ไม่สามารถเหาะไปวัดหลุยอินซื่อได้
ต้องเดินไปพร้อมกับพระถังซำจั๋งทีละก้าวๆ จนกว่าจะถึง
หรือโดยนัย ก็คือไม่มีทางลัดในการปฏิบัติธรรม
ถึงโทสะของเราจะใจร้อนอยากบินไปให้ถึง อยากบรรลุ
แต่การจะไปถึงจริงๆ นั้น ทำได้ทางเดียว คือการปฏิบัติสติปัฎฐาน 4 เท่านั้น
จะข้ามขั้น หรือหาใครมาพาไปไม่ได้
ต้องเดินด้วยตัวเองทีละขั้น ทีละก้าวเท่านั้น...
ในละครวันนี้ สามพี่น้อง เพิ่งจะคิดได้ว่า ถ้าหากบรรลุอรหันต์
เขาก็จะไมได้ในสิ่งที่เขาหวังก่อนเดินทาง
หงอคง ก็จะไม่ได้เป็นเทพต่อยตีกับใครอีก
โป๊ยก่าย ก็จะไม่ได้สมรักกับฉางเอ๋อที่ครองรักกันมาพันชาติ
ซัวเจ๋ง ก็จะไม่ได้รับความฉลาดหรือปัญญาที่หวังเอาไว้
จนถึงกับอยากจะถอดใจเลิกเดินทาง ไม่อยากบรรลุธรรม
ซึ่งก็เหมือนกับจิตใจของเราเหล่าปุถุชนทั้งหลาย
ผุ้กำลังเดินทาง ผู้กำลังศึกษา
กว่าจะถึงนั้น ต้องต่อสู้กับกิเลสมากมายในจิตใจ
คิดไปนั่น คิดไปนี่ จนสุดท้ายกลัวว่าจะต้องสูญเสียทุกอย่าง
จนต้องพ่ายแพ้แก่กิเลส และสุดท้ายก็ไม่อาจจะไปถึงได้
หากแต่ความจริงแล้ว การบรรลุธรรม หรือการสำเร็จอรหัตผลนั้น เราไม่ได้สูญเสียอะไร
เพราะความจริงเราไม่มีอะไรมาแต่ต้น
แต่เราเที่ยวไปยืด ไปถือ ไปหลงผิด เอานั่นเอานี่มาเป็นของตนมาตลอด
เราปฏิบัติไม่ใช่เพื่อไปเอาอะไร
แต่เราปฏิบัติเพื่อไม่เอาอะไรต่างหาก
และสิ่งแรกที่ต้องทิ้ง ก็คือ มิจฉาทิฐิ
คือการหลงคิดไปว่า นั่นตัวเรา นั่นของเรา
เพราะจริงๆ ไม่มีตัวเรา ไม่มีของเรา มีแต่สิ่งที่จิตเราไปยืดมั่นถือมั่น
จนแม้แต่สุดท้าย จิต ก็ไม่ใช่ของเรา
มีแต่สละทิ้ง มีแต่สำรอกออกซึ่งกิเลส
ดังนั้น อรหัตผลนั้น ละเอียดและลึกซึ้งเกินกว่าพวกเราจะมานึกๆ คิดๆ เอาได้
แต่แค่เรารู้ว่ากายใจไม่ใช่เรา ด้วยการปฏิบัติจริงๆแล้ว
นั่นก็เรียกว่าเป็นโสดาปัติผล ปิดอบายได้สนิท
เพราะโสดาบัน แปลว่าผู้เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ
จะไม่ลงต่ำกว่าภูมิมนุษย์อีก ไม่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก หรือเดรัจฉานอีก*
(* ความหมายจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์)
แล้วเหตุใดเราจะไม่เร่งทำในขณะที่ยังมีโอกาสล่ะ...
ไม่มีอะไรต้องเสียแม้แต่นิดเดียว...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น