ขอยกโอวาทปาฏิโมกข์ มาให้อ่านกัน
เนื่องในวันมาฆบูชา
.
โอวาทปาฏิโมกข์ [โอ-วา-ทะ-ปา-ติ-โมก]
หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา
หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่
พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป
ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม
ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา
(อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้
แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา
ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),
คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
แปล :
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑
การบำเพ็ญแต่ความดี ๑
การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง,
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม,
ผู้ทำร้ายคนอื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,
ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑
ความเพียรในอธิจิต ๑
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ
ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส
http://www.84000.org/tipitaka/dic/
.
สมัยก่อนนั้น การจะแสดงปาติโมกข์
ต้องอยู่ในชุมนุมสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ และไม่ปะปนด้วยคฤหัสถ์เด็ดขาด
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=5360&Z=5403&pagebreak=0
ก็คงจะหาอะไรแบบนั้นยากแล้วในสมัยนี้
คงเหลือเป็นการสวดเพื่อทบทวนพระวินัยเท่านั้น
และก็ไม่แปลก ถ้าเราจะไม่เคยได้ฟัง
เพราะมีพระวินัยบัญญัติไว้ ว่าถ้าแสดงให้คฤหัสถ์ฟัง ก็อาบัติไปเสียอีก
ห้ามสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์
[๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเทวทัตต์สวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย.
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย
รูปใดสวด ต้อง อาบัติทุกกฏ.
ต้องได้รับอาราธนาจึงสวดปาติโมกข์ได้
[๑๗๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับอาราธนาสวดปาติโมกข์ในท่ามกลางสงฆ์.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งห้ามภิกษุ ทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้รับอาราธนา
ไม่พึงสวดปาติโมกข์ในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของพระเถระ.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=4&A=4582
.
ส่วนที่ว่า ทำไมจึงสวดปาติโมกข์กันเดือนละ 2 ครั้ง
ก็มีที่มาครับ ดังเรื่องต่อไปนี้...
สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ
[๑๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์แล้ว จึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน.
ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์ในวัน อุโบสถแล้ว
จึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ
ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง
รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ปักษ์ละ ๑ ครั้ง
คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ หรือ วัน ๑๕ ค่ำ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=4&A=4163
.
เขียนนานมาก แต่ไม่รู้เรื่อง
ตกลงแล้วคุณอ่านแล้วได้อะไรครับ
ผมอ่านเองก็งงเอง
เอาว่าไปอ่านเรื่องนี้ต่อครับ สนุกกว่าของผมเยอะเลย
มาฆบูชา CODE